วันเสาร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ยาจีน 三七 ซานชี หรือชื่อที่คนไทยเราคุ้นหูกันในนาม "ฉั่งฉิก"


                                                             三七 ซานชี

.          ชื่อยา 三-สาม และ七 -เจ็ด นี้มาจากอายุของการเพาะปลูก ซึ่งจะสามารถเกี่ยวเมื่ออายุ 3-7ปี

           ยาตัวนี้มีชื่อเรียกหลากหลายชื่อ แต่ที่ฮิตติดหูคงจะหนีไม่พ้น 田七เถียนชี หรือฉั่งฉิกในภาษาแต้จิ๋วนั่นเอง
       
           三七เป็นส่วนใต้ดินของต้นซานชี ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panax notoginseng (Burk) F.H.Chen

           การเก็บเกี่ยวจะเก็บในช่วงปลายร้อนต้นหนาว ก่อนที่จะออกดอก นำมาแยกรากแล้วตากแห้ง
เวลาจะนำมาใช้ให้บดเสียก่อน.  โดยยาซานชีนี้ จะมีการแบ่งเกรดออกเป็นตามน้ำหนักต่อ1กิโลกรัม เช่นเกรด40หัว เกรด100หัว ถึงเกรด400หัว เป็นต้น นอกจากนี้ ยังแบ่งเกรดตามลักษณะภายนอกอีกด้วย โดยรวมแล้ว ยาตัวนี้จะมีการแบ่งเกรดออกมา มากถึง13เกรดด้วยกัน

            นอกจากนี้ ยังมีซานชีชนิดอื่นอีก คือ 菊叶三七และ景天三七 ซึ่งเป็นพืชคนละชนิดกัน ซึ่งจะมีสรรพคุณที่เหมือนกันคือ หยุดเลือดสลายคั่ง แต่สรรพคุณรอง และรส ที่ต่างกันออกไป จะขอเอาทั้งสองตัวนี้เขียนไว้ที่ใต้สุดของบทความ
             เอาละมาต่อที่พระเอกของเราในบทความนี้

                                                                         三七 ซานชี

                                                               มีรสหวานอมขม ฤทธิ์อุ่น

.                                                       วิ่งเข้าเส้นลมปราณ ตับ และ กระเพาะ

                      มีสรรพคุณคือ
                                                หยุดเลือดสลายการคั่ง     ลดบวมระงับปวด

                      ใช้ในการรักษาคือ

       1.ไอเป็นเลือด อาเจียรเป็นเลือด : ซานชีหวานอมขมฤทธิ์อุ่น วิ่งเข้าในระดับเลือด(血分) สรรพคุณเด่นในด้านหยุดเลือด ทั้งยังสลายและป้องกันการคั่ง จึงเป็นยาที่มีชื่อเสียงมากในทางระงับเลือดโดยไม่ทำให้เกิดมีการคั่งหลงเหลือเอาไว้ จึงเหมาะที่จะใช้สำหรับผู้ป่วยที่เลือดออกไม่ว่าจะภายนอกหรืออวัยวะภายใน ไม่ว่าจะมีการคั่งหรือไม่ สามารถใช้ได้หมด แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการคั่งอยู่ คงไม่มีตัวไหนเหมาะสมไปกว่าจะใช้ซานชีตัวนี้อีกแล้ว

        2. บิดถ่ายเป็นเลือด ตกเลือด เลือดออกขณะตั้งครรภ์ : สรรพคุณในการหยุดเลือดของซานชี ใช้ได้ดีโดยเฉพาะส่วนล่างของร่างกาย(ล่างสะดือลงมา) สามารถใช้เดี่ยว คือบดผงผสมน้ำซาวข้าว หรือผสมสาโท หรือในรายที่เสียเลือดมากก็ใช้ร่วมกับยากลุ่มบำรุงเลือดเข้าไป เช่นตำรับ 四物汤

        3. เลือดออกจากบาดแผลภายนอก : สามารถใช้ยาเดี่ยวบดเป็นผงพอกหรือจะเข้าตำรับพวกสลายคั่งหยุดเลือดหรือกลุ่มไหลเวียนเลือดระงับปวดก็ได้

        4. หกล้มฟกช้ำ บวมเขียว : สามารถใช้ยาเดี่ยวบดผงชงกับเหล้าเหลือง หรือจะเข้าตำรับก็ได้

        5. ฝีหนอง : ด้วยซานชีมีสรรพคุณในการสลายการคั่งลดปวด ทำให้เลือดไหลเวียนยุบบวม ทำให้เหมาะแก่การรักษาฝีหนองทุกระยะ เช่น ในระยะแรก จะช่วยทำให้ยุบสลายไป ในระยะท้ายจะช่วยในการยุบฝีและเสริมสร้างเนื้อเยื้อใหม่

        6. เจ็บท้องเจ็บหน้าอก : ซานชีมีฤทธิ์สลายการคั่งระงับปวด ไม่เพียงแต่จะรักษาการคั่งจากการตกกระทบกระแทกได้ดีแล้ว ยังสามารถรักษาอาการปวดบริเวณท้องและทรวงอกได้ด้วย ในปัจจุบัน ได้มีการนำซานชีมาใช้ในการรักษา เส้นเลือดหัวใจอุดตัน ตับอักเสบจากลิ่มเลือดอุดตัน
สมองขาดเลือด และหลอดเลือดในสมองแตก

      ปริมาณการใช้ซานชี
ต้ม.       3 - 10 กรัม แบ่งทานเช้าเย็น
ปั้นลูกกลอน-ยาผง-ชงดื่ม.   1 - 1.5 กรัม ทานวันละ 1 - 3 ครั้ง หากเป็นหนักให้ใช้ 3 - 6 กรัม
ใช้ภายนอกตามความเหมาะสม
 
     ข้อควรระวัง

1: ไม่ว่าจะส่วนไหนของซานชีที่เป็นส่วนใต้ดินใช้ได้หมด อย่าทิ้ง!!!!! เพียงแต่ฤทธิ์จะไม่ีดีเท่าส่วนรากแก้วอูมๆแค่นั้นเอง

2: ในยุคหลังๆมา แพทย์มักจะนิยามคำว่าซานชีว่า หยุดเลือดสลายคั่ง เพราะฉนั้นยังมียาตัวไหนที่มีสรรพคุณตัวนี้ ก็จะจับใส่คำว่าซานชีลงไปใช้เรียนชื่อยาตัวนั้นด้วยเช่นกัน โดยเป็นยาคนละชนิดกัน ทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่ายาตัวนั้นๆคือซานชีพระเอกของเราในบทความนี้
    เช่น 菊叶三七  เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ทานตะวัน(Asteraceae) และ
           景天三七 เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์กุหลาบหิน(Crassulaceae).
    ส่วนพระเอกของเราน้านนนนจะอยู่ในวงศ์เล็บครุฑ(Araliceae)

ส่วนสุดท้ายที่ติดเอาไว้แต่ตอนต้นนะครับ

1. 菊叶三七 จวี๋เย่ซานชี มีชื่อหล่อๆว่า Gynura segetum (Lour.) Merr. โดยยาตัวนี้จะใช้ทั้งต้น รสหวานอมขม ฤทธิ์กลาง สรรพคุณ หยุดเลือดสลายคั่ง ลดบวมต้านอักเสบ ปริมาณใช้เหมือนซานชี
2. 景天三七 จิ่งเทียนซานชี มีชื่อเท่ๆว่า Sedum aizoon L. ใช้ทั้งต้นเช่นกัน มีรสหวานอมเปรี้ยว ฤทธิ์กลาง มีสรรพคุณคือ หยุดเลือดสลายคั่ง บำรุงเลือดสงบจิตประสาท ปริมาณใช้ ทั้งต้น 15-30 กรัม ถ้าใช้เฉพาะราก 6-10 กรัม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น